Sec 0165: Difference between revisions
From Thai Codification Codes of 1925
Main>Codesuser mNo edit summary |
|||
(One intermediate revision by the same user not shown) | |||
Line 25: | Line 25: | ||
# Old Text (1923): [[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/2466_th_zhgb/index.php/Sec_0448 448]] | # Old Text (1923): [[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/2466_th_zhgb/index.php/Sec_0448 448]] | ||
# New Text (1992): '''''[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/2535_th_zhgb/index.php/Sec_0193-33 193/33(V)]''''', '''''[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/2535_th_zhgb/index.php/Sec_0193-34 193/34]''''' | # New Text (1992): '''''[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/2535_th_zhgb/index.php/Sec_0193-33 193/33(V)]''''', '''''[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/2535_th_zhgb/index.php/Sec_0193-34 193/34]''''' | ||
# Jp. Code (1896,98): [[ | # Jp. Code (1896,98): [[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/1896_ja_zgb/index.php/Book1_Chapter06_Title03#Article_170. 170 - 174]] | ||
# Gr. Code (1896): *'''''[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/1896_de_bgb/index.php/Book1_Chapter05#Section_196. 196]''''' | # Gr. Code (1896): *'''''[https://openlegaltextbook.ddns.net/Codes/1896_de_bgb/index.php/Book1_Chapter05#Section_196. 196]''''' | ||
# Miscellaneous: [S.O.128] | # Miscellaneous: [S.O.128] | ||
====== '''《Comments》''' ====== | ====== '''《Comments》''' ====== |
Latest revision as of 03:05, 6 November 2024
มาตรา 165
- สิทธิเรียกร้องดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ มีกำหนดอายุความสองปี คือ
- (๑) บุคคลผู้เป็นพ่อค้า ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้เป็นช่างฝีมือ และบุคคลจำพวกประกอบศิลปะอุตสาหะกรรม เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของ และค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหะกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
- (๒) บุคคลผู้ประกอบกสิกรรม หรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบสิ่งอันเป็นผลแห่งกสิกรรม หรือป่าไม้ เพียงที่เป็นการสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้
- (๓) บุคคลผู้ขนส่งคนทางรถไฟ ผู้รับบรรทุกของ คนเรือ คนขับรถจ้าง และคนเดินหนังสือ เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป
- (๔) บุคคลผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรม และบุคคลจำพวกที่ค้าในการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เรียกเอาค่าที่จัดที่พักอาศัยเพื่อสำเร็จความต้องการ รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปด้วย
- (๕) บุคคลจำพวกที่ขายตั๋วสลากกินแบ่ง เรียกเอาค่าที่ได้ขายตั๋ว เว้นแต่เป็นการที่ได้ส่งมอบตั๋วเพียงสำหรับให้ขายต่อไป
- (๖) บุคคลจำพวกที่ในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
- (๗) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (๑) แต่เป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่น หรือรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปด้วย
- (๘) บุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาเงินจ้าง ค่าจ้าง หรือสินจ้างชะนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปด้วย กับทั้งนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นที่ว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าให้ไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน
- (๙) คนงาน ผู้ช่วยงาน ลูกมือฝึกหัด คนประจำโรงงานหัตถกรรม กรรมกรรายวัน และช่างฝีมือ เรียกเอาเงินจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทน หรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นที่ว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าให้ไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน
- (๑๐) ครูผู้สอนลูกมือฝึกหัด เรียกเอากำนลและค่าการงานอย่างอื่น ตามที่ได้ตกลงกันไว้โดยสัญญาลูกมือฝึกหัด รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปแทนลูกฝึกหัดนั้นด้วย
- (๑๑) สาธารณสถานที่ศึกษา ที่ฝึกสอน ที่พิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ และเจ้าของสถานของเอกชนอันเป็นที่ทำการทำนองเช่นว่ามานั้น เรียกเอาค่าศึกษา ค่าที่ได้ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ และค่าที่ได้ออกเงินไปเกี่ยวกับการนั้นๆ
- (๑๒) บุคคลจำพวกที่รับคนไว้บำรุงเลี้ยง หรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำไป และค่าที่ได้ออกเงินจ่ายไปทำนองเช่นระบุไว้ในอนุมาตรา (๑๑)
- (๑๓) ครูอาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
- (๑๔) บุคคลผู้ประกอบการแพทย์ รวมทั้งศัลยแพทย์ สูติแพทย์ ทันตแพทย์และช่างฟัน และสัตวแพทย์ กับทั้งนางผดุงครรภ์ นางพยาบาล เรียกเอาค่าการงานที่ทำ รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปด้วย
- (๑๕) หมอความ ทนายความ รวมทั้งบรรดาบุคคลที่ทางราชการได้ตั้งแต่ง หรืออนุญาตให้กิจการฉะเพาะบางอย่าง เรียกเอาค่าธรรมเนียม และค่าได้ออกเงินทดรองไปเพียงที่มิใช่เงินอันอยู่ในประเภทจะต้องส่งเข้าท้องพระคลัง
- (๑๖) บุคคลผู้เป็นคู่ความ เรียกเอาเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าให้แก่ทนายความของตน
- (๑๗) บุคคลผู้เป็นพะยาน และเชี่ยวชาญ เรียกเอาค่าธรรมเนียม และค่าที่ได้ออกเงินอดรองไป
- สิทธิเรียกร้องเช่นระบุไว้ในวรรค ๑ อนุมาตรา (๑), (๒) และ (๕) นั้นอย่างใดไม่เข้าอยู่ในบังคับอายุความสองปี ท่านให้มีกำหนดอายุความห้าปี
《References》
☆ quoted from “INDEX” with supplementary entries in […]: Images in Archives
- Old Text (1923): [448]
- New Text (1992): 193/33(V), 193/34
- Jp. Code (1896,98): [170 - 174]
- Gr. Code (1896): *196
- Miscellaneous: [S.O.128]